1) จัดการศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนในด้านวิชาชีพ ระดับฝีมือ ระดับเทคนิค ระดับปริญญาตรี สายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ รวมทั้งส่งเสริมวิชาการ และวิชาชีพชั้นสูง มีความชำนาญในการสอน
2) ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยพัฒนามาตรฐานการอาชีวศึกษา การถ่ายทอดวิทยาการ และเทคโนโลยี การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ให้บริการวิชาการ และวิชาชีพแก่สังคม
3) จัดทำข้อเสนอแนะ แนวนโยบาย แผนพัฒนาสถาบัน ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการอาชีวศึกษา มาตรฐานวิชาชีพ และหลักสูตรการอาชีวศึกษาของสถาบัน
4) ส่งเสริม ประสานความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันการศึกษา อาชีวศึกษาเอกชน สถานประกอบการ ภาคเอกชนหรือหน่วยงานของรัฐ ในการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายของสถาบันเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ การวิจัยพัฒนาการอาชีวศึกษาและการจัดการอาชีวศึกษา และการฝึกอบรมวิชาชีพ
5) ดำเนินการเกี่ยวกับการเสนอจัดตั้งงบประมาณ การจัดหารายได้การบริหารงาน งบประมาณการเงินและทรัพย์สินของสถาบัน
6) ดำเนินการเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพมาตรฐานการอาชีวศึกษา การติดตาม ตรวจสอบการประเมินผลการบริหารจัดการของสถาบันให้สอดคล้องกับนโยบาย แผนพัฒนา และมาตรฐานการอาชีวศึกษา
7) ดำเนินงานเกี่ยวกับงานเลขานุการสภาสถาบันและดำเนินการตามที่สภาสถาบันมอบหมาย
8) ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของสภาสถาบัน หรือตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษามอบหมาย
(ก) งานช่วยอำนวยการและงานเลขานุการของสถาบัน งานการประชุมอื่น ๆ ของสถาบัน
(ข) ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน
(ค) ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานทั่วไป งานสารบรรณ งานวิเทศสัมพันธ์งานการตลาด เผยแพร่และประชาสัมพันธ์กิจการสถาบัน
(ง) ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานการเงิน การบัญชี การพัสดุ อาคารสถานที่ งบประมาณและทรัพย์สินของสถาบัน
(จ) ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคลากร ส่งเสริมวินัย และระบบคุณธรรม ของบุคลากร
(ฉ) ดำเนินการเกี่ยวกับงานกฎหมาย นิติกรรม สัญญา งานเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่ง ทางอาญา งานคดีปกครอง และงานคดีอื่นที่อยู่ในหน้าที่ของสถาบัน
(ช) ปฏิบัติงานอื่นที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดในสถาบัน รวมทั้งส่งเสริมการดำเนินงานของวิทยาลัยและหน่วยงานในสถาบัน
(ซ) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
2. สำนักพัฒนายุทธศาสตร์และความร่วมมืออาชีวศึกษา มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) จัดทำแผนพัฒนาของสถาบันเกี่ยวกับการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพให้สอดคล้องกับนโยบายการศึกษาและเทคโนโลยี
(ข) ศึกษาและวางแผนการผลิต เพื่อพัฒนาคุณภาพกำลังคนสู่มาตรฐานสากลบนพื้นฐาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(ค) ศึกษา วิเคราะห์ ประเมินผลข้อมูลสารสนเทศ เพื่อการวางแผนยุทธศาสตร์และความร่วมมืออาชีวศึกษา ให้มีความสามารถ ในการแข่งขัน จัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตที่ดี
(ง) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการจัดอาชีวศึกษาโดยความร่วมมือกับสถานศึกษาเอกชน สถานประกอบการให้สามารถจัดการอาชีวศึกษาสอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการอาชีวศึกษา เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด
(ฉ) จัดให้มีทุนและแหล่งทุนเพื่อพัฒนาการอาชีวศึกษา และการสร้างเครือข่ายเชิงการตลาด การธุรกิจร่วมกับทุกภาคส่วน และการส่งเสริมการบริหารจัดการและการพัฒนาปรับปรุง วิทยาลัยและสถาบัน
(ช) การติดตาม ประเมิน และการรายงานผลการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ ดำเนินการตามตัวชี้วัดและมาตรฐาน การอาชีวศึกษา
(ซ) ดำเนินการเกี่ยวกับการติดตาม ประเมิน และการรายงานผลการจัดการอาชีวศึกษา และการฝึกอบรมวิชาชีพ ดำเนินการ ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ และมาตรฐานการอาชีวศึกษา
(ฌ) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
3. สำนักพัฒนากิจการนักศึกษาและกิจการพิเศษ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) ประสานเกี่ยวกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รวมทั้งโครงการพิเศษอื่น ๆ ที่สถาบันกำหนด หรือสำนักงาน
คณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนดให้สถาบันดำเนินการ
(ข) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนเกี่ยวกับงานด้านการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม งานโครงการ กิจกรรม
เกี่ยวกับการพัฒนาการเสริมสร้างคุณภาพ และการส่งเสริม ความประพฤติผู้เรียน
(ค) ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย
(ง) ส่งเสริมและประสานงานการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพสำหรับกลุ่มพิเศษอื่น ๆ
(จ) ส่งเสริม สนับสนุนทุนทางปัญญา ทุนมนุษย์ และคลังสมองการอาชีวศึกษา
(ช) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
4. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) ส่งเสริม สนับสนุนการศึกษา การวิจัย การทดลอง โดยประสานความร่วมมือ ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อร่วมดำเนินการ
จัดตั้งศูนย์วิจัย ห้องทดลอง ห้องปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ
(ข) สร้างเครือข่ายความร่วมมือการวิจัยทั้งในและต่างประเทศ เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ
(ค) ปฏิบัติงานสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
5. สำนักอาชีวศึกษาบัณฑิต มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) การกำกับ ดูแล ควบคุม และการจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการในสาขาวิชาต่าง ๆ
(ข) ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงที่เน้นการปฏิบัติการสอน การวิจัย ถ่ายทอดวิทยาการ และเทคโนโลยี
(ค) ทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
(ง) ส่งเสริมและประสานงานให้คณาจารย์ ได้รับการฝึกอบรมและพัฒนาด้านวิชาการ ส่งเสริมความก้าวหน้าและพัฒนาให้มีตำแหน่งทางวิชาการ การวิเคราะห์วิจัยและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ทางการอาชีวศึกษา การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ ต่อการเรียนการสอน และการฝึกอบรมวิชาชีพ รวมทั้งการถ่ายทอดวิทยาการแก่ชุมชนและสังคม
(ง) ดำเนินการและประสานเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ มาตรฐานการอาชีวศึกษา และมาตรฐานวิชาชีพ การเทียบโอนผลการเรียนหรือประสบการณ์ด้านวิชาชีพ และการประกันคุณภาพการศึกษา รวมทั้งการให้คำปรึกษา แนะนำ นิเทศ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผล
(จ) ประสานการใช้ทรัพยากรของส่วนราชการสังกัดสถาบันและเครือข่าย เพื่อพัฒนา ผู้เรียนให้มีสมรรถนะสอดคล้องกับหลักสูตร
การอาชีวศึกษาและวิชาชีพ มาตรฐานการอาชีวศึกษา และมาตรฐานวิชาชีพ
(ฉ) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
6. วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ วิทยาลัยเทคนิคลำปาง
วิทยาลัยเทคนิคลำพูน วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) จัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพ เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนในด้านวิชาชีพระดับฝีมือและระดับเทคนิค ให้มีสมรรถนะสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตามหลักสูตรมาตรฐานการอาชีวศึกษาและมาตรฐานวิชาชีพ รวมทั้งสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานทั้งภายในและต่างประเทศ
(ข) ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน ชุมชน สังคม สถานประกอบการ ในการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ ให้มีความรู้ ความสามารถในทางปฏิบัติและมีสมรรถนะจนสามารถนำไปประกอบอาชีพในลักษณะผู้ปฏิบัติหรือประกอบอาชีพอิสระได้ รวมทั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง การให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชนและสังคม
(ค) ดำเนินการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีการศึกษาวิจัย และพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งการให้บริการทางวิชาการ และวิชาชีพแก่ชุมชน และสังคม
(ง) ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย